วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประเพณีผีตาโขน


ประเพณีผีตาโขน

       
          “ผีตาโขน” เป็นการแสดงออกถึงศิลปวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น ถือเป็นเอกลักษณ์ของชาวอำเภอเมืองด่านซ้าย การเรียกว่า “ผีตาโขน” นั้น มีผู้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า  มีชายหญิงคู่หนึ่งรักกันมาก แต่ถูกกีดกันจึงหลบเข้าไปในอุโมงค์ซึ่งเป็นที่เก็บทรัพย์สินบริจาคของวัดพระธาตุสองรัก เมื่ออุโมงค์ถูกปิดลงโดยไม่รู้ว่ามีคนยุข้างในทั้งคู่ก็ตาย จึงกลายเป็น “เจ้าพ่อกวน” และ “เจ้าแม่นางเทียม” เฝ้าดูแลรักษาองค์พระธาตุตลอดมา  จนมีดวงวิญญาณขอเป็นบริวารมากขึ้น เมื่อถึงเทศกาลบุญพระเวสวิญญาณทั้งหลายก็จะออกมาร่วมขบวนแห่พระอุปคุตกับชาวบ้าน จึงเรียกกันว่า “ผีตามคน” จนนานเข้าเลยเพี้ยนเป็น “ผีตาโขน”
ลักษณะของผีตาโขน
         เป็นการสวมหน้ากากที่ทำด้วยหวดนึ่งข้าวที่สานด้วยไม้ไผ่ หักพับขึ้นเป็นหมวกแล้วนำมาเย็บต่อกับส่วนโคนของก้านมะพร้าวซึ่งถากเป็นรูปหน้ากากผีแล้วตกแต่งสีสันให้สวยงามด้วยสีน้ำมัน แต่สมัยก่อนจะใช้ดินหม้อและปูนข้าวแล้วเจาะตาให้มองเห็น นำเศษผ้ามาเย็บติดกันเป็นผืนใหญ่ห่มคลุมร่างผู้เล่นเป็นผีตาโขน มีอาวุธเป็นดาบ และมีกระป๋องแขวนที่เอว เพื่อทำให้เกิดเสียงดัง ลักษณะการเดินจะต้องเดินขย่มตัว ส่ายตะโพก โยกขา ขยับเอว
ผีตาโขนมี  ๒ ประเภท  คือ
๑.  ผีตาโขนใหญ่ จะทำด้วยไม้ไผ่เป็นโครงร่าง แล้วให้ผู้ที่แข็งแรงเข้าไปอยู่ข้างในตัวหุ่นผีตาโขน ซึ่งใช้มุ้งพันตามโครงร่างแล้วเดินเคลื่อนไหวไปมา ผีตาโขนใหญ่มีทั้งผู้ชายและผู้หญิง
๒. ผีตาโขนเล็ก จะเป็นผู้เล่นผีตาโขนทั่วไป เพราะหน้ากากผีตาโขนเล็กทำได้ง่าย ไม่มีข้อจำกัด จึงมีคนนิยมเล่นกันทั่วไปไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่
         การเล่นผีตาโขนเป็นการกระเซ้าเย้าแหย่คนที่มาชมงานเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน ส่วนใหญ่ผู้หญิงและผู้สูงอายุไม่นิยมร่วมเข้าขบวนเล่น มักจะมีแต่เด็กผู้ชายและวัยรุ่น
         การละเล่นผีตาโขนนั่นถือกันว่าเป็นการเล่นเพื่อถวายเจ้านาย คือ ผีบรรพบุรุษที่เคยเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด และถือเป็นการเล่นตามความประสงค์ของเจ้านาย หากไม่ปฏิบัติตามจะเป็นการผิดประเพณี หรือหากนายไม่พอใจจะทำให้เกิดความเดือดร้อนและเกิดภัยพิบัติ


 
 

ขั้นตอนการเล่น
         การเล่นผีตาโขนนั้นจะเริ่มในวันแรกของงานประเพณีบุญหลวง โดยห้ามเล่นก่อนพิธีเบิกพระอุปคุต เมื่อมีการเชิญพระอุปคุตจากลำน้ำหมักมาประดิษฐานที่หออุปคุตในวัดโพนชัย จะมีการทำบุญตักบาตร สู่ขวัญเจ้าพ่อกวนจนเสร็จ ผีตาโขนใหญ่และผีตาโขนเล็กจะไปร่วมตัวกันที่หน้าบ้านเจ้าพ่อกวนเพื่อเล่นถวายเจ้านาย หลังจากนั้นก็เดินขบวนไปที่วัดโพนชัย พอถึงวัดขบวนจะเวียนรอบอุโบสถ ๓ รอบ ก็จะแยกย้ายกันไปเล่นตามอัธยาศัย ผีตาโขนจะชอบแหย่เด็กๆและหญิงสาวๆ เพราะเป็นกลุ่มที่ตกใจง่าย เมื่อผีตาโขนเดินผ่านหน้าบ้านใครเจ้าของบ้านจะต้องบริจาคเงินหรือเลี้ยงอาหาร ถือเป็นการทำบุญทำทานที่มีเพียงปีล่ะครั้ง
วันที่สอง การล่ะเล่นเช่นเดียวกับวันแรก แต่เล่นถึงเวลา ๑๕.๐๐ น. ผีตาโขนทุกตัวจะไปร่วมพิธีอัญเชิญพระเวสสันดรเข้าเมืองโดยขบวนนี้จะมีการแห่บั้งไฟด้วย
วันที่สาม จะเริ่มประมาณ ๓ นาฬิกา ชาวบ้านจะทำพิธีแห่ข้าวพันก้อนไปบูชาพระอุปคุตที่วัด วันนี้จะมีเทศน์มหาชาติ หรือ เทศน์พระเวสสันดร เมื่อพระสงค์เทศน์จบแต่ล่ะกัณฑ์มีการถวายกัณฑ์เทศน์หรือเรียกว่า กัณฑ์หลอน






แหล่งที่มา หนังสือประเพณีพื้นบ้าน ตำนานพื้นเมือง  โดยวิสันต์ ท้าวสูงเนิน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น