วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ผญา

ผญา




ความเป็นมาของผญา
            คน อีสานรู้จักการแต่งผญามาตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด ได้แต่คาดเดาเอาว่าคงเกิดขึ้นพร้อมๆกับการรู้จักคำความหมายของคำทั้งบาลี สันสกฤตที่แพร่ขยายมาพร้อมกับอิทธิพลขอมศาสนา และภาษาโบราณอีสานเองที่มีเป็นเอกลักษณ์อยู่ก่อนแล้ว
          ความ จริงแล้วภาษานั้นมีการพัฒนาขยายตัวมาเป็นลำดับตามความเปลี่ยนแปลงทางการ ศึกษา เมื่อมีคำและความหมายของคำมากขึ้นคนมักจะพูดหรือนำคำมาเชื่อมติดต่อกันให้มี ความสละสลวยไพร่เราะมากขึ้นตามลักษณะของคนไทยที่เรียกว่า เป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน ซึ้งคนอีสานก็เป็นเช้านั้นเพียงแต่คำคล้องจองของชาวอีสานนั้นไม่ได้เรียกว่า กาพย์ กลอน ฉันท์ ฯลฯ แต่เรียกว่า ผญา คำที่คนโบราณอีสานนำมาเชื่อมต่อเป็นผญานั้นก็เช่นเดียวกันกับที่นัก ฉันทลักษณ์ไทยนำคำมาแต่งเป็นประพันธ์ชนิดต่างๆนั่นเอง ซึ่งจะให้ทั้งสาระและความไพรเราะ
คำภาษาอีสานจะมีลักษณะพิเศษอยู่อย่างหนึ่งคือ สามารถสื่อความและเปรียบเทียบได้ลึกซึ่งมองเห็นภาพพจน์ได้ชัดเจนกว่าภาษาไทย ทั่งไป เช่นคำว่า มิดซีลี มืดตึ้ดตึ๋อ ดำปี้ปี้ แดงจายวาย ฯลฯ คำที่มีลักษณะเช่นนี้ที่คนโบราณคิดขึ้น นำมาพูดกันแล้วกลายมาเป็นผญาในที่สุด แรกๆนั้นอาจพูดกันชนิดปากต่อปากสืบต่อกันไปเรื่อยๆ ต่อมามีการประดิษฐ์อักษรขึ้นมาใช้คำผญาจึงถูกจารึกลงในใบลานซึ่งชาวอีสานจะ รู้ดีในนามหนังสือผูกหรือหนังสือก้อมหรือหนังสือข่อยตามแต่จะเรียก
          ผญา นอกจากจะเป็นคติสอนใจให้ข้อคิดแนวทางดำเนินชีวิตต่างๆแล้วยังมีผญาอีกแบบ หนึ่งที่แพร่หลายมากก็คือ ประเภทเกี้ยวพาลาสี ซึ่งมักจะแต่งกันแบบสดๆต่อหน้าฝ่ายตรงกันข้ามเลนเช่นเวลาหนุ่มไปเจอสาวอยาก จะถามข่าวคราวหรืออยากทราบว่าบ้านอยู่ที่ไหนก็จะถามด้วยผญาซึ้งชาวอีสานจะ เรียกว่า    “จ่ายผญาเช่น 






   ชาย : แม่นเจ้าเนาหนห้อง        สถานที่เมืองได๋ น้องเอ
  
ขอจงไขวาจา               บอกพี่มาดู้น้อง
          หญิง : น้องนี้เนาหนห้อง          สารคามก้ำบ้านอยู่  พุ้นแหล้ว




        
      
ส่วน มากแล้วผญาเกี้ยวพาลาสีมักจะแต่งหรือจ่ายกันบ่อยที่สุดคือ เวลาหนุ่มไปเจอสาวใน ลานลงข่วงซึ่งเป็นสถานที่สาวๆไปรวมกันเพื่อปั่นฝ้ายในตอนกลางคือบรรดา หนุ่มๆทั่งต่างหมู่บ้านและบ้านเดียวกันก้อจะถือโอกาสนี้มาพูดคุยจ่ายผญา เกี้ยวพาราสีหยอกเย้าสาวๆ
          ผญาอีกประเภทหนึ่งคือ ผญาพูดสองแง่สองง่าม ตีความหมายไปไหนแง่ลามกสกปรกซึ่งชาวอีสานรู้กันดีในนาม ผญาสอย คำขึ้นต้นจะมีคำว่า สอยๆๆ...แล้วหาคำที่เป็นความหมายสองแง่สองง่ามมาต่อ ทุกวันนี้ผญาหรือคำคล้องจองประเภทนี้เป็นที่นิยมกันมาก
         
ผญาภาษิตปรัชญาคำสอน
            ผญา ภาษิต คือ ผญาที่นักปราชญ์โบราณอีสานแต่งขึ้นเพื่อให้เป็นคติสอนใจให้ผู้คนนำไปเป็นแนว ทางในการดำเนินชีวิต จะเห็นได้ว่าคนอีสานจากอดีตจนถึงปัจจุบันสามารถดำรงความเป็นหมู่ ความเป็นญาติพี่น้อง มีการช่วยเหลือเอื้ออาทรมีน้ำใจที่ดีงามต่อกันส่วนใหญ่จะอาศัยแนวคำสอนจาก ผญาภาษิตซึ่งแทรกปนอยู่ในวรรณคดีอีสานบ้างนิทานพื้นบ้านบ้างเป็นคติในการ ดำเนินชีวิต
          ผญาภาษิตที่พ่อแม่ปู่ย่าตายายนำมาสอนลูกหลานผู้นำทางพิธีกรรมประเพณีนำมาสอน ชาวบ้าน พระนำมาสอนพุทธศาสนิกชนอ่านหรือฝังแล้วต้องนำมาคิด พิจารณาไตร่ตรองตีความเพราะบางคำสำนวนได้ซ่อนแฝงความหมายไว้อย่างลึกซึ้งที่ ให้ทั้งแง่คิดและคติเตือนใจเพื่อให้ลูกหลานได้รู้จักฟัง อ่านและทำความเข้าใจในคำสอนที่มาเป็นผญาเพราะถ้าเป็นคำสั่งสอนที่พูดธรรมดา เป็นอาจจะนาเบื่อแต่สำหรับคำสอนที่เป็นผญาอาจจะเป็นสิ่งที่แปลกใหม่สำหรับคน รุ่นหลังก็ว่าได้เพราะฉนั้นผญาก็มีทั้งความโบราณแต่ก็ยังแฝงคำสอนคติเตือนใจ ต่างๆที่เป็นประโยชน์มากเลยทีเดียว

  ตัวอย่างเช่น
·                กกบ่เที่ยง       ทางปลายบ่งาม                             
          คนฮูปทราม     ศีลธรรมซอยยู้
          มีความฮู้         อย่าอวดตัวตน
          เกิดเป็นคน      อย่าเกิดมาดาย
          ให้ขวนขวาย    เฮ็ดดีให้ถ้วน   
 คำแปล  ถ้าพื้นฐานเหล่ากอไม่ดีชีวิตตนเองและลูกหลานในภายภาคหน้าก็จะไม่ดีด้วย คนขี้เหล่หากมีความดีงามมีศีลธรรมจะช่วยให้มีเสน่ห์ได้  มีความรู้ไม่ควรอวดเก่งต้องรู้จักแสวงหาและทำความดีให้มาก

ผญาความรักเกี้ยวพาราสี
            ผญา ความรักเกี้ยวพาราสี เป็นผญาที่คนอีสานสมัยก่อนได้แต่งและคิดขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร ภาษารักระหว่างบ่าวสาว ใช้พูดจาโต้ตอบสื่อความรักกันตามโอกาสอันเหมาะสมต่างๆ หนุ่มคนใดที่สามารถจ่ายผญาได้ดีมีผญามากและสามารถแต่งขึ้นโต้ตอบได้ทันทีมัก จะมีภาสีดีกว่า หรือได้เปรียบคู่แข่งก็มักจะมัดใจสาวๆได้ผญาเกี้ยวสาวมักจะจ่ายหรือพูดกันใน สถานที่ที่สาวๆไปชุมนุมกันมากๆ

ตัวอย่างเช่น
         หญิง : แม่นเจ้าเนาหนห้อง          สถานถิ่นเมืองได๋  อ้ายเอย
      ใจประสงค์หยังนอ            จั่งดวนมาทางนี้

               ชาย : อ้ายกะเนาหนห้อง           ร้อยเอ็ดคำก้ำบ้านอยู่  พุ้นแหล้ว
                           ใจประสงค์อยากได้ซู้        กะเลยล้ำลวงมา  น้องเอย               เป็นต้น   
                                                                
ดังนั้น ผญาจึงนับว่าเป็นวัฒนธรรมประเพณีอันล่ำค่าของคนอีสานอีกอย่างหนึ่งที่เราควรสืบสารและรักษาให้คงอยู่สืบไป 








        หนังสือ  ผญา

 ผู้แต่ง สำลี รักสุทธี

ตำแหน่งครูวิทยฐานะ ครูเชี่ยวชาญ

 










































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น