ประเพณีบวช
บวช หมายถึง สละเหย้าเรือนออกเป็นนักบวช ไม่ว่าในศาสนาใดก็ตามต้องเป็นคนไม่มีเหย้าเรือน
ไม่มีภรรยา ประเพณีบวช เป็นการปฏิบัติที่สืบเนื่องมาจากความเลื่อมใสศรัทธาในศาสนาพุทธของพุทธศาสนิกชน
โดยตามประเพณีปฏิบัติในการบวชนั้น ชายที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จะต้องเข้าพิธีอุปสมบท
(อุปสมบท หมายถึงการบวชเป็นภิกษุ) เพื่อศึกษาพระธรรมให้เข้าใจชีวิต และสามารถนำมาใช้ในการครองชีวิตต่อไปในภายภาคหน้าได้อย่างสงบสุขและมีสติ
การบวช นิยมบวชตามประเพณีในช่วงก่อนวันเข้าพรรษา เพื่อที่จะได้สามารถอยู่ศึกษาพระธรรมตลอดจนระยะเวลาเข้าพรรษา
ประมาณ 3 เดือน ก็จะลาสิกขาเมื่อพ้นวันออกพรรษาแล้ว แต่ถ้าบวชต่อไปก็ได้แล้วแต่ความสะดวก
หากไม่ได้บวชในช่วงตามประเพณีระยะเวลาในการบวชขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้ บวชเช่นกัน
โดยส่วนใหญ่จะประมาณ 15 วัน หรือ 1 เดือน
คนไทยมีความเชื่อที่ว่าการที่บุตรชายได้บวชจะทำให้บิดามารดาได้เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์
และการบวชถือเป็นการทดแทนพระคุณบิดามารดาด้วยก่อนการจะบวชต้องไปพบเจ้าอาวาสเพื่อหาฤกษ์บวช
เมื่อกำหนดวันบวชได้แล้วผู้ที่จะบวชจะต้องมาลาญาติมิตรเพื่อขอขมาและต้องไป อยู่วัดก่อนบวชประมาณ
15 วัน ในการขอขมานาคจะนำดอกไม้ ธูป เทียนแพไปกราบลาเพื่อขออโหสิ ผู้บวชจะต้องท่องคำขอบวช
และฝึกซ้อมขั้นตอนวิธีการบรรพชาจากพระพี่เลี้ยง เตรียมเครื่องใช้ที่จำเป็นซึ่งเรียกว่า
เครื่องอัฐบริขาร มี 8 อย่าง คือ บาตร จีวร สบง สังฆาฏิ
ผ้าประคดเอว หม้อกรองน้ำ กล่องเข็มพร้อมด้าย มีดโกนและหินลับมีด
ในพิธีการโกนผมนาค
สามารถจัดที่วัดหรือที่บ้านก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสม โดยเชิญญาติผู้ใหญ่ ปู่ ย่า ตา
ยาย พ่อ แม่ มาทำการตัดผมนาค โดยนำผมปอยที่ตัดวางไว้บนใบบัวที่นาคถือ หลังจากนั้นพระจะเป็นผู้โกนให้โดยจะโกนผมและคิ้วจนเกลี้ยงเกลา
ส่วนผมในใบบัวนั้นจะนำห่อใบบัว ไปลอยในแม่น้ำลำคลอง หลังจากนั้นก็จะมีพิธีอาบน้ำนาคโดยใช้น้ำผสมเครื่องหอมต่างๆ
เมื่ออาบน้ำเสร็จแล้ว นาคจะนุ่งชุดขาวเพื่อประกอบพิธีทำขวัญนาคต่อไป ในพิธีการทำขวัญนาคจะมีการเทศน์สอนนาคให้ระลึกถึงบุญคุณของบิดา
มารดา การทดแทนพระคุณ และคุณประโยชน์ในการบวชเรียน และคำกล่าวนี้จะเป็นคำร้องหรือ การแหล่
และมีความไพเราะกินใจ ทำให้นาคเกิดความซาบซึ้ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการปลุกเร้าให้นาคมีกำลังใจและตั้งใจที่จะบวชเรียน
ในตอนเช้าวันรุ่งขึ้นจะมีการแห่นาคจากบ้านไปวัด มีขบวนนำด้วย ขบวนกลองยาว
แตรวง และขบวนรำขบวนญาติพี่น้องที่ถือเครื่องอัฐบริขารแต่บิดาจะถือตาลปัตรสะพาย บาตร
มารดาอุ้มผ้าไตร ขบวนจะแห่เวียนขวารอบโบสถ์ 3 รอบ
หรือที่เรียกว่า “ทักษิณาวัตร” เมื่อแห่ครบแล้วนาคยืนหน้าโบสถ์ทำพิธีวันทาเสมาและยืนโปรยทานซึ่งส่วนใหญ่
ใช้เหรียญบาท หลังจากนั้นนาคก็จะเข้าโบสถ์โดยญาติพี่น้องจะอุ้มนาค โดยไม่ให้เท้านาคเหยียบธรณีประตู
เนื่องจากความเชื่อที่ว่าเป็นการส่งนาคสู่ร่มกาสาวพัสตร์ส่งผลสู่นิพพาน ผู้ร่วมนำส่งก็จะได้ผลบุญกุศลด้วย
ต่อจากนั้นก็จะเข้าสู่พิธีบวชนาค จะมีพระอุปัชฌาย์เป็นประธาน และคณะสงฆ์มาประชุมพร้อมกันซึ่งในตอนแรกจะต้องกล่าวคำขอบรรพชาเป็นสามเณร
ก่อน เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนแรกนาคจะไปเปลี่ยนผ้านุ่งแบบสมณะเพศ แล้วกลับเข้ามากล่าวคำขออุปสมบทต่อไป
พระอุปัชฌาย์จะมีการกล่าวสอนในเรื่องการปฏิบัติตนในเพศสมณะหรือแล้วแต่พระ
อุปัชฌาย์และเมื่อภิกษุใหม่ถวายเครื่องไทยธรรม พระสงฆ์กล่าวอนุโมทนาคาถา และญาติกรวดน้ำถือว่าเป็นอันเสร็จพิธี
หลังจากนั้นก็จะเป็นการฉลองซึ่งขึ้นอยู่กับเจ้าภาพ
ประเพณีปอยส่างลอง
ปอยส่างลอง คือ งานบวชลูกแก้วเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนาของชาวไทยใหญ่ ชาวไทยใหญ่มีความเชื่อกันว่าผู้ที่ได้จัดงานบรรพชาสามเณรหรือได้อุปสมบทพระ
ภิกษุไว้ในพระศาสนาจะได้บุญกุศลอานิสงส์มากล้น
กล่าวคือถ้าได้บวชลูกตนเป็นสามเณรจะได้อานิสงส์ 7กัลป์
บวชลูกชายคนอื่นเป็นสามเณรได้อานิสงส์4กัลป์ถ้าได้อุปสมบทลูกตนเองเป็นพระ
ภิกษุสงฆ์ได้อานิสงส์ถึง12 กัลป์ อุปสมบทลูกคนอื่นเป็นพระภิกษุสงค์ได้อานิสงส์ 8
กัลป์ ช่วงระยะเวลาในการจัดงานจะนิยมจัดในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม
วิธีจัดงานบวชเณรของชาวไทยใหญ่นั้นมี 2วิธี
คือ
แบบ ข่ามดิบ เป็น
วิธีง่ายๆประหยัดไม่ต้องใช้เวลาในการเตรียมงานและไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย มาก
วิธีการคือ พ่อแม่ก็จะโกนหัวเด็กหรือนำเด็กไปโกนหัวที่วัด นุ่งขาว ห่มขาว
เตรียมเครื่องไทยทาน
อัฎฐบริขารที่จำเป็นต้องใช้ไปทำพิธีขอบรรพชาที่วัดเป็นอันเสร็จพิธี
แบบส่างลอง เป็นวิธีที่ต้องเตรียมงานกันนานค่าใช้จ่ายสูงใช้เวลา 3-5วัน มีการเชิญผู้มาร่วมงานเป็นจำนวนมากหลังจากเตรียมงานแล้วนำเด็กโกนหัวแต่งตัวเป็น
ส่างลอง นี้เป็นที่นิยมจัดกันมากทุกหมู่บ้านถือกันว่า
เป็นบุญกุศลของผู้จัดและเป็นสง่าราศีแก่หมู่บ้านและท้องถิ่นนั้นๆ
เมื่อตกลงว่าจะจัดงาน ”ปอยส่างลอง”
ขึ้นในหมู่บ้าน ผู้ที่จะเป็นเจ้าภาพจะมาร่วมปรึกษาเตรียมงานเตรียมคน
และเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องไทยทานและสิ่งของอื่นๆ
การเตรียมงานมีการตกลงกันว่ามอบหมายให้ใครเป็น “ตะก่าโหลง” หรือเจ้าภาพใหญ่และเจ้าภาพร่วมโดยทั่วไป”ตะก่าโหลง” มัก จะเป็นผู้ที่มีฐานะดีในหมู่บ้านหรือผู้ที่ได้รับการยกย่องในหมู่บ้านนั้น
เช่นผู้ใหญ่บ้าน กำนัน จากนั้นจะตกลงวันเวลาในการจัดงานว่าจะจัดช่วงไหน จัดกี่วัน
นอกจากนี้จะตกลงกันมนเรื่องค่าใช้จ่ายเช่นค่าอาหาร ค่าเครื่องไทยทาน
จำนวนพระภิกษุสงฆ์ที่จะนิมนต์มารับเครื่องไทยทานจำนวนแขกที่จะเชิญมาร่วมงาน
การเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆการจัดเตรียมสถานที่เช่นการประกอบอาหาร
ที่พักหลับนอนสำหรับส่างลองและเตรียมทำความสะอาดวัดที่ใช้เป็นทีประกอบพิธี สงฆ์
เมื่อตกลงเรื่องการเตรียมงานแล้วก็จะมีการแบ่งงานกัน เช่น เจ้าภาพใหญ่”ตะก่าโหลง”จะ เตรียมต้นตะเป่ส่า
หรือต้นกัลปพฤกษ์จำนวน2ต้น
สำหรับถวายวัดและถวายพระพุทธเจ้าเตรียมเครื่องประกอบอาหารและอุปกรณ์หรือ
เจ้าภาพต่างๆจะมาช่วยกันรวมทั้งจัดเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ของส่างลองสำหรับ
เจ้าภาพเครื่องไทยทานอัฎฐบริขารและเครื่องประโคมฆ้องกลอง
เจ้า
ภาพที่ร่วมจัดงานปอยส่างลองจะต้องเตรียมเครื่องแต่งกายเครื่องใช้ส่างลอง
เครื่องไทยทานอัฎฐบริขาร ร่มส่างลองและ ตะแป่ส่างลอง หรือพี่เลี้ยงส่างลองด้วย
หลัง
จากที่ได้ประชุมตกลงเรื่องการเตรียมงานแล้วจะมีการประชุมเตรียมคนเชิญผู้
เกี่ยวข้องการจัดงานเช่น เจ้ามื้อ ผู้ที่จะมาปรุงอาหาร หัวหน้าตะแป่ส่างลอง
คือผู้ที่จะเป็นหัวหน้าพี่เลี้ยงซึ่งมีหน้าที่ดูแลพี่เลี้ยงส่างลอง
และเงินทองข้าวของเครื่องใช้ส่างลองด้วย ตะแป่ส่างลอง จะดูแลส่างลอง ตั้งแต่อาบน้ำ
แต่งตัว ทานข้าว หลับนอน และนำขี่คอไปที่ต่างๆกางร่มให้และดูแลความปลอดภัยตลอด 7
วัน หรือ 5 วัน
ไม่ให้คลาดสายตาเพราะบางครั้งจะมีการนำส่างลองไปแอบซ่อนไว้ที่ใดที่หนึ่งไม่
ให้ยอมทำพิธีบรรพชาเป็นสามเณรเจ้าภาพจะต้องนำ อะซู
คือรางวัลไปมอบให้จึงจะได้ส่างลองกลับคืนมาการประชุมก็จะมีการมอบหมายงานโดย ทั่วไป
ส่างลอง 1 คน จะมีตะแป่ 2-3 คน
หลัง
จากมีการประชุมกันแล้วเจ้าภาพหรือพ่อแม่จะนำบุตรของตนไปฝากไว้กับวัดเพื่อ
ให้เจ้าอาวาสสอบอบรมสั่งสอนหัดให้ท่องจำคำขอบรรพชา คำให้ศีล ให้พร ใช้เวลา 7 ถึง
10 วันก่อนถึงวันงาน
เมื่อ
ทุกอย่างตกลงกันจะมีการประกาศจัดงานเชิญแขกมาร่วมงานปอยส่างลอง
การเชิญแขกแต่เดิมใช้ ธูปเมี่ยง
คือนำเมี่ยงมาห่อด้วยใบตองอย่างสวยงามแล้วมอบหมายให้หนุ่มสาวเป็นผู้นำไปแจก
ตามบ้านที่จะเชิญแล้วแจ้งการจัดการปอยส่างลองว่าเจ้าภาพจะจัดงานปอยส่างลอง
จำนวนกี่องค์ วันไหนรับส่างลอง วันไหนแห่คัวหลู่ (แห่เครื่องไทยทาน) และวันไหนเป็นวันนำส่างลองไปบรรพชาเป็นสามเณรการเชิญแขกในปัจจุบันใช้เทียน
ไขแทนส่วนการนิมนต์พระเป็นหน้าที่ของคนเฒ่าคนแก่นำกรวยดอกไม้ธูปเทียนไป
นิมนต์ที่วัด
ใกล้ถึงวันงาน 2-3 วันที่บ้านเจ้าภาพจะมีคนมาช่วยจัดเตรียมสิ่งต่างๆเช่น เมี่ยงโก้
คือเมี่ยงปรุงเครื่อง มวนบุหรี่ ห่อ หมากพลูทำ ข้าวพ้องต่อ
คือขนมชนิดหนึ่งที่ทำจากน้ำแป้งมาคลุกเคล้าทำเป็นแผ่นบางๆตัดให้กว้างขนาด1
x 1 นิ้ว
นำไปตากให้แห้งแล้วนำมาทอดฉาบหรือโรยด้วยน้ำอ้อยเคี่ยวขนมอีกอย่างคือ ข้าวแตกปั้น หรือข้าวตอกปั้นทำจากขั่วข้าวตอกนำไปฉาบน้ำอ้อยเคี่ยวเป็นก้อนกลมเมื่อถึง
วันงานแขกมาร่วมงานเจ้าภาพจะต้อนรับแขกด้วยน้ำใส่ในคนโท ข้าวพองต่อ ข้าวแตกปั้น
เมี่ยงบุหรี่ หมากพลูจัดใส่จานมาต้อนรับ
ช่วง
ใกล้งานผู้ที่มีผีมือตกแต่งจะมาร่วมกันตกแต่งเครื่องไทยทาน อัฏฐบริขาร ต้นตะเป่ส่า
ปุ๊กข้าวแตก ตกแต่ง กลางคืนมีการติดไฟสว่างไสวให้ผู้มาร่วมเตรียมงานพร้อมกับนำ
กลองมองเซิง และมีฉาบฉิ่งมาตีประกอบตกดึกจะมี เฮ็ดกวาม
คือการร้องเพลงไทยใหญ่คล้ายแหล่ภาคกลางมาร้องสรรเสริญเจ้าภาพและเกี้ยว พาราสีกัน
ก่อน ถึงวันงาน 1 วันพ่อแม่เด็กหรือเจ้าภาพงานจะนำเด็กที่เป็นส่างลองไปทำพิธีโกนผมที่วัดโดย
มีพ่อแม่เด็กหรือผู้ใหญ่ตัดให้ก่อนแล้วจึงให้ช่างโกนเสร็จแล้วนำไปอาบ น้ำเงิน
น้ำทอง น้ำขมิ้น ส้มป่อย เพื่อเป็นสิริมงคล ปะแป้ง นุ่งขาวห่มขาว
รับศีล5จากพระแล้วจึงกลับมานอนที่บ้านหรือบางทีก็นอนที่วัด
งานวันส่างลองที่นิยมจัดกันทั่งไปแบ่งเป็น
4 วัน คือ
วัน
แรกรับส่างลองคือตอนเช้านำเด็กไปที่วัดแต่งชุดส่างลองรับศีลแล้วนำส่างลองไป
ขอขมาเจ้าเมืองพระสงค์ตามวัดต่างๆและไปขอขมาตามบ้านญาติและผู้ที่เคารพรัก ใคร่ของเจ้าภาพและนำส่างลองกลับไปนอนที่บ้านเจ้าภาพ
วัน ที่สอง มีพิธีสำคัญ 3
อย่างคือตอนเช้าจะมีการ แห่คัวหลู่
หรือแห่เครื่องไทยทานตอนเย็นเลี้ยงอาหารส่างลองมื้อพิเศษและทำพอธีเรียกขวัญ
ส่างลอง
ตอน เช้าในการแห่เครื่องไทยทานหรือ
แห่คัวหลู่ จะมีผู้คนมาร่วมขบวนแห่กันมากมายส่างลองแต่งกายชุดไทยใหญ่หลากสีสันสวม
เครื่องประดับเต็มที่ขบวนแห่จะตั้งขบานแห่ที่บ้านเจ้าภาพใหญ่เพื่อแห่ไปยัง
วัดประจำหมู่บ้านขบวนเครื่องไทยทานประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้
จี เจ่(กังสดาล)
จะอยู่หน้าขบวนใช้คนหามสองคนคนหลังเป็นผูตีเปลี่ยนกันตี ตีเป็นจังหวะๆไป
เชื่อว่าเสียงจีเจ่เป็นการประกาศการทำบุญให้เทวบุตร เทวดา ผู้คนทั่วไปได้รับรู้
อุ๊บพระพุทธ คือ เครื่องสักการะพระพุทธเจ้าประกอบด้วยดอกไม้
ธูปเทียน กล้วย ยาเส้น กรวยดอกไม้ ขนม จัดใส่ภาชนะใช้คนแบกหาม 2 คน
เพื่อนำไปถวายพระพุทธเจ้า
ม้า
เจ้าเมือง โดยคัดม้าที่มีรูปร่างลักษณะสวย
สง่างามและเชื่องนำมาตกแต่งประดับด้วยดอกไม้และเครื่องทรงอื่นปูด้วยผ้าก่อน
นำมาร่วมขบวนแห่จะนำไปอัญเชิญเจ้าเมืองที่ศาลประจำเมืองหรือศาลประจำหมู่
บ้านจัดมาร่วมขบวนแห่เพื่อเป็นศรีสง่ามิ่งมงคลและนำความร่มเย้นเป็นสุขมาสู่
การจัดปอยส่างลอง
ต้นตะเป่ส่าพระพุทธ คล้าย
จองพาราหรือปราสาทพระมีโครงสร้างทำด้วยไม่ไผ่กรุกระดาษสาตกแต่งด้วยลายเจาะ
กระดาษสีสันต่างๆวางบนฐานสี่เหลี่ยมผูกไม่ไผ่2คานใช้ชายหาม4คนจัดทำเพื่อ ถวายพระพุทธนับว่าเป็นจุดเด่นที่สำคัญของขบวนแห่เจ้าภาพจะสั่งทำเป็นพิเศษ
เล็กใหญ่สวยงามขึ้นอยู่กับฐานะเจ้าภาพ
“ต้นตะเป่ส่าถวายวัด” คล้ายต้นตะเปสาพระพุทธต่างกันที่เครื่องห้อยโดยเครื่องห้อยทั้งหมดจะเป็น
เครื่องใช้ที่ใช้สำหรับวัด เช่น จาน ชาม กะละมัง หม้อข้าว หม้อแกง ช้อน แก้ว
“ปุ๊กข้าวแตก” คือ ห่อข้าวตอกด้วยกระดาษสาผูกติดกับธงสามเหลี่ยมที่เรียกว่า
ธงจ๊ากจ่า และมัดผูกติดกับลำไม้ไผ่ตกแต่งให้สวยงาม
ปุ๊กข้าวแตกจะต้องมีในขบวนแห่จำนวนขึ้นอยู่กับจำนวนส่างลอยผู้ถือเป็นชาย
“เทียนเงินเทียนทอง”คือ
ธูปเทียนแพเป็นเครื่องบูชาสำหรับส่างลอยจะนำไปถวายแด่พระอุปัชฌย์ใช้จำนานเท่ากับส่างลอย
มีหญิงสาวเป็นผู้ถือแห่
“อู่ต่องปานตอง”คือกรวยหมาก กรวยพลู และกรวยดอกไม้ สำหรับส่างลอยนำไปใช้และบูชา
“หม้อน้ำเก่า” หม้อ ดินห่อผ้าขาวเสียบด้วยใบไม่ที่เป็นสิริมงคล
9 ชนิด คือ ใบสะเป่(ใบหว้า) เหนจ่า (หญ้าแพรก) ก๊าด ใบเก่า (ใบปรั่ง)
ก้ำก่อ(ดอกบุนนาก) ยอกกุ่ม(ไม้กุ่มยอดใช้ดอกกินได้) ไม้แข ไม้แห้ และไม้กาง
ชื่อไม้แต่ละชนิดมีความหมายถึงความเป็นสิริมงคล การกั้นออก
แคล้วคลาดจัดไว้เชื่อว่าเป็นสิริมงคลและป้องกันอันตรายต่างๆนานาใช้ผู้หญิง
เป็นผู้ถือในขบวน
ดนตรีประโคมจะใช้”กลองมองเชิง”
ผูกกลอง ฆ้อง ติดคาน ไม้ไผ่หามและตีไปในขบวนแห่ส่วนใหญ่เป็นผู้ชายวัยกลางคน 9-10คนตี
เครื่องไทยทาน สำหรับถวายพระสงฆ์
ที่นิมนต์มาในงานใช้หญิงสาวเป็นผู้ถือ
อัฏฐบริขาร คือ ของใช้สำหรับสามเณรประกอบด้วย
ผ้าส่างการ คือจีวร บาตร เครื่องนอนและของใช้อื่นๆ
มัดผูกติดไว้กับไม่ไผ่ใช้แม่บ้านหรือพ่อบ้านเป็นผู้แบกหามร่วมขบวน
ขบ วนส่างลอง ในขบวนแห่เครื่องไทยทาน
ส่างลองตะแป่และผู้ร่วมขบวนจะแต่งกายสวยงามเป็นพิเศษมาร่วมขบวนทั้งหมดมี
กลองก้นยาวตีให้จังหวะฟ้อนรำ
คณะ
บ้องไฟเป็นขบวนสุดท้ายจัดทำบ้องไฟด้วยไม่ไผ่คาดหวายอัดดินปีนนำมาร่วมขบวน
แห่เพ่อเป็นสิริมงคลและจุดเฉลิมฉลองการจัดงานปอยส่างลองในวันสุดท้าย
ขบวน
แห่เครื่องไทยทานจะออกจากบ้านเจ้าภาพผ่านถนนสายสำคัญไปสู่วัดระหว่างทางจะมี คนเฒ่าคนแก่นำข้าวตอกดอกไม้โปรยให้กับผู้ร่วมขบวนแห่คณะต่างๆเป็นการ
อนุโมทนาสาธุในการทำบุญขบวนแห่จะไปสิ้นสุดที่วัดแห่เวียนรอบวัดอีก3
รอบจึงนำเครื่องไทยทานไปเก็บตั้งแสดงหน้าพระพุทธรูปจากนั้นเจ้าภาพจะเลี้ยง
อาหารผู้มาร่วมขบวนแห่
ตอน เย็นที่บ้านเจ้าภาพใหญ่หรืออาจใช้สถานที่วัดเป็นที่เลี้ยงอาหารส่างลองเต็ม
รูปแบบและจัดเป็นมื้อพิเศษอาหารที่จะนำมาเลี้ยงจะมีจำนวน 12 อย่าง
การเลี้ยงนั้นเป็นหน้าที่ของบิดามารดา
ยกสำหรับอาหารมาวางให้ส่างลองและป้อนอาหาร
ขนมหวาน น้ำ ให้ส่างลองที่ไม่มีพ่อแม่หรือญาติเจ้าภาพที่บวชจะเป็นผู้ป้อนอาหารให้จนอิ่ม
หลัง
เสร็จพิธีเลี้ยงอาหารส่างลองเป็นการทำพิธีเรียกขวัญส่างลองโดยนำบายศรีมาจัด
วางหน้าส่างลองแล้วหมอขวัญหรือผู้อาวุโสจะทำหน้าที่เรียกขวัญผูกข้อมือเสร็จ
แล้วก็ให้พ่อแม่ญาติผู้ใหญ่และผู้ที่มาร่วมงานผูกข้อมือให้ส่างลองเสร็แล้ว
จึงนำส่างลองกลับไปพักผ่อนที่บ้านเจ้าภาพ
วัน ที่สาม เป็นวัน ข่ามส่าง
คือวันที่นำส่างลองไปบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดตั้งแต่ตอนเช้าผู้คนที่ได้รับ
เชิญมาร่วมงานจะไปร่วมกันที่วัดจากนั้นจะมีการ ถ่อมคีค
คืออ่านหนังสือให้ผู้มาร่วมฟัง
พิธี การพรรพชาสามเณร เริ่มที่นำส่างลองมานั่งต่อหน้าพระสงฆ์กล่าวคำขอ
ขอผ้าจีวรแล้วนำไปเปลี่ยนจากชุดส่างลองเป็นสามเณรเสร็จแล้วมากล่าวคำขอศีล รับศีล
พระผู้ใหญ่ให้โอวาทแนะนำสั่งสอนเสร็จแล้วจะมีเทศน์ ๑ กัณฑ์
เจ้าภาพถวายเครื่องไทยทาน ถวายต้นตะเป่ส่า พระสงค์อนุโมทนาเป็นเสร็จพิธี
หากมีคณะบ้องไฟมาร่วมงาน จะนำบ้องไฟมาจุดเสร็จแล้วนำบ้องไฟที่ขึ้นแห่ไปรับ “อะซู” จากเจ้าภาพต่อไป
วันที่สี่เป็น “วันอ่องปอย” หรือ
วันฉลองส่างลอง มัน
ทำเฉพาะในหมู่เจ้าภาพ ญาติมิตรเท่านั้น
พิธีมีการสวดมนต์พระและเณรใหม่มาฉันอาหารที่บ้านหรือวัดถวายเครื่องไทยทาน
พระสงฆ์อนุโมทนาเป็นอันเสร็จพิธี
หลังจากจัดงานปอยส่างลองผู้คนทั่วไปก็จะเรียกคำนำหน้าใหม่และจะใช้เรียกตลอดไป
ประเพณีบวชลูกแก้วในดินแดนล้านนาเป็นการบวชเณร
การบวชลูกแก้วคือการที่เข้าพิธีบวชเณรในพระพุธศาสนาเพื่อตอบแทนคุณของบิดามารดา
และเป็นผู้สืบทอดพระศาสนาซึ่งตามความเชื่อบิดามารดาที่บวชลูกจะได้อา ณิสงฆ์(ผลบุญ)
4 กัลป์
การบวชลูกแก้วมักจะบวชกันก่อนเข้าพรรษาในราวเดือน พฤษภาคม-มีถุนายน ของทุกปี
ปัจจุบัน
การบวชลูกแก้วจะมีข้อกำหนดที่เปลี่ยนแปลงไปตามระเบียบของคณะสงฆ์ไทย เช่น ผู้ที่ต้องจบการศึกษาภาคบังคับต้องผ่านการสอบสามเณรสิกขาหรือผ่านการพิจารณา
จากเจ้าคณะอำเภอเป็นต้นเมื่อเจ้าคณะอำเภอออกใบอนุณาติบวชให้แล้วเจ้าภาพแล้
เจ้าอาวาสก็จะร่วมพิธีบวชต่อไป
การเตรียมพีธีสำหรับบวชลูกแก้วเจ้าภาพและผู้มีจิตศัทธา ซึ่งประกอบด้วยเครื่องอัฏฐบริขาร ครบ 8 อย่างและเครื่องใช้อื่นๆที่จำเป็นหรือเครื่องบวช ได้แก่จีวร อังสะ รัดปะคด ผ้าอาบน้ำ ผ้าปูนั่ง ผ้ากราบย่าม บาตร เครื่องนอน ได้แก่ หมอน มุ่ง ผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน เสื่อ เตียง เครื่องใช้อื่นๆ เช่น ปิ่นโต ถาด ถ้วย จาน ช้อน แก้วน้ำ คนโท ร่ม กระโถน เป็นต้น
การบอกบุญงานบวชลูกแก้วในสมัยก่อนเป็นการบอกบุญกันด้วยวาจาแก่พี่น้องคนในหมู่บ้านและอาจจะมีการบอกบุญโดยทำเป็นพิธีการโดยการเอาผ้าสงบ จีวรหรือหมวก หรือใช้ผ้าปูนั่งห่อเครื่องอัฏฐบริขารแล้วขมวดปลายผ้าเป็นปมแล้วเอารูปประคำพันรอบปมผ้าแล้วนำไปวางบนพานถือไปบอกกล่าวแก่ญาติมิตรตามหมู่บ้านต่างๆซึ่งญาติมิตรที่รับทราบการบอกบุญจะนำปัจจัยใส่ลงในพานนั้นเพื่อร่วมอนุโมทนา
|
ข้อมูลอ้างอิงจากหนังสือ ประเพณี พีธีกรรม ท้องถิ่นไทย
|
|
|
|
|
ผู้แต่ง อุดม เชยถีวงค์
ข้อมูลรูปภาพจากWWW.google.com