ประเพณีไหลเรือไฟ
แม่น้ำโขงคือ
แม่น้ำที่กั้นสองฟากฝั่งระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาว
จังหวัดนครพนมเป็นตำแหน่งที่แม่น้ำโขงไหลผ่านกว้างที่สุดประมาณไม่ต่ำกว่า
สองกิโลเมตร และฝั่งตรงข้ามก็คือ เมืองท่าแขก
แขวงคำม่วนประเทศลาว
ณ บริเวณนี้ ในคืนแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑
ทั้งสองฟากฝั่งแม่น้ำโขงจะคึกคั่กด้วยผู้คนที่มาเที่ยวชมงานประเพณี “ไหลเรือไฟ” และร่วมกันทำบุญมาตั้งแต่ตอนกลางวัน
พร้อมทั้งรอชมความยิ่งใหญ่ตระการตาจากดวงไฟเล็กๆ
ที่ได้รับการจัดวางไว้อย่างงดงามวิจิตรบนเรือไฟที่จะล่องไปตามลำน้ำโขงนี้
เพื่อแต่งแต้มเติมความสว่างไสวฉาบฉายไปทั้งคุ้งน้ำ โดยเชื่อกันว่า เรือไฟที่ไหลไปนี้ ก็เพื่อเป็นการบูชา รอยบาทพระพุทธองค์ ที่ประดิษฐาน อยู่ที่ริมฝั่ง แม่น้ำ
นัมทามหานที
ประวัติ ความเป็นมา
ประเพณีไหลเรืองไฟหรือ “ไหลเฮือไฟ” ตามสำเนียงภาษาอีสาน
เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ
นำยมจัดขึ้นในช่วงเทศกาลออกพรรษา
คือ ในคืนวันเพ็ญ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) เดือน ๑๑ หรือ คืนวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑
ความเป็นมาของประเพณีไหลเรือไฟ
นี้สือเนื้องจากความเชื่อที่เกี่ยวโยงและแตกต่างในหลายแง่มุม บ้างก็ว่าเป็นการบูชา รอยพระพุทธบาท บ้างก็ว่าเป็นการสักการะท้าวพกาพรหม บ้างก็ว่าเป็นการบวงสรวง พระธาตุจุฬามณี กระทั้งไปจนถึงการระลึกพระคุณของพระแม่คงคาแตกต่างกันไป
นี้สือเนื้องจากความเชื่อที่เกี่ยวโยงและแตกต่างในหลายแง่มุม บ้างก็ว่าเป็นการบูชา รอยพระพุทธบาท บ้างก็ว่าเป็นการสักการะท้าวพกาพรหม บ้างก็ว่าเป็นการบวงสรวง พระธาตุจุฬามณี กระทั้งไปจนถึงการระลึกพระคุณของพระแม่คงคาแตกต่างกันไป
ความเชื่อเรื่องการบูชารอยพระพุทธบาทก็มีเรื่องราวที่น่าสนใจ ไม่น้อยดังนี้
ตามพุทธประวัติกล่าวไว้ว่า ในครั้งที่พญานาคได้ทูลอาราธนาพระพุทธองค์ให้ไปแสดงธรรมในพิภพของนาคให้เมืองบาดาลนั้น เมื่อพระองค์เสด็จกลับ ทางฝ่ายพญานาคได้ทูลขอให้พระองค์ ประทับรอยพระบาทไว้ ณ ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที พระองค์จึงได้ประทับรอยพระบาทไว้ ณ หาดทรายตามแม่น้ำตามประสงค์ ของพญานาคซึ่งรอยพระบาทที่ประทับไว้นี้ ไม่เพียงเป็นที่เคารพสักการะของเหล่าพญานาคเท่านั้น ยังเป็นที่เคารพสักการะของของเหลาเทวดาและมนุษย์ด้วยจนมาเป็นเหตุถึงการไหลเรือไฟเพื่อบูชารอยพระบาท ของพระพุทธองค์
ส่วนความเชื่อเรื่องการบูชา ท้าวผกาพรหม หรือ บรรพบุรุษ ปรากฏตามนิทานชาวบ้านที่เล่าสือต่อกันมาว่า ครั้ง
หนึ่งมีกาเผือกสอง ผัวเมียทำรังอาศัยอยู่บนต้นไม้ในป่า
หิมพานต์ใกล้ฝั่งแม่น้ำ วันหนึ่งกาตัวผู้บินจากรังเพื่อไปหาอาหาร
เผอิญหลงทางกลับรังไม่ได้จนบินกระเจิดกระเจิงหายไป ส่วนกาตัวเมียซึงกำลังกกไข่ ๕ ฟองอยู่นั้น คอยผัวไม่กลับมาจึงกระวนกระวาย จนอยู่มาวันหนึ่งเกิดพายุใหญ่พัดรังกาและทำให้ไข่ทั้ง ๕ ฟอง ตกลงในแม่น้ำ ส่วนแม่กาถูกพัดพาไปอีกทางหนึ่งครั้นพอลมสงบ แม่กาบินกลับไปที่รังก้อพบว่า รังถูกพายุพัดพัง และไข่ทั้ง ๕ ฟองหายไปหมด จึงเสียใจจนตายไป ในที่สุดไปเกิดใหม่บนพรหมโลก ชื่อท้าวพกาพรหม ส่วนไข่ทั้ง ๕ ฟอง มีผู้นำไปรักษาดังนี้
ฟอกแรกแม่ไก่เอาไป ฟองที่สองแม่นาคเอาไป ฟองที่สามแม่เต่าเอาไป ฟองที่สี่แม่โคเอาไป และฟองสุดท้ายแม่ราชสีห์เอาไป ครั้นเมื่อไข่ครบกำหนดฟักแตกออกมากลับกลายเป็นมนุษย์ไม่ใช่ลูกกาตามปรกติ ครั้นเมื่อลูกกาทั้ง ๕ เติบโตเป็นหนุ่ม เห็นโทษของกานเป็น ฆราวาส และเห็นถึงอานิสงส์แห่งบรรพชา จึงได้ลามารดาเลี้ยงออกบวชเป็นฤาษี อยู่ในป่าหิมพานต์ วันหนึ่งฤาษีทั้ง ห้า ได้มาพบกัน จึงได้ไต่ถามถึงเรื่องราวซึงกันและกัน และพร้อมใจกันอธิฐานว่า ถ้าต่อไปจะได้เป็นสมเด็จพระพุทธเจ้าขอให้ร้อนไปถึงมารดาด้วย แรงอธิฐานครั้งนั้นจึงได้ร้องถึงท้าวพกาพรหม และเสด็จจากพรหมโลก จำแลงองค์เป็นกาเผือก บินมาเกาะบนต้นไม้ ต่อหน้าฤาษีทั้ง ๕ และเล่าเรื่องเดิมให้ฟังและกล่าวว่า
“ถ้าคิดถึงแม่ เมื่อวันเพ็ญเดือน ๑๑ และเดือน ๑๒ ให้เอาด้ายดิบ ผูกไม้ตีนกาปักธูปเทียนบูชา ลอยกระทงในแม่น้ำเถิด ทำอย่างนี้เรียกว่าคิดถึงแม่ ” เมื่อบอกเสร็จท้าวผกาพรหมก็ลากลับไป จนกลายเป็นที่มาของการลอยกระทงและไหลเรือไฟ
ประเพณีไหลเรือไฟของจังหวัดต่างๆ ในภาคอีสาน ได้มีประเพณีและพิธีสืบเนื่องมาตั้งแต่โบราณ โดยเฉพาะจังหวัดนครพนมได้ยึดถือมาเป็นระเบียบจุฬามณีบนสวรรค์ ตามพุทธประวัติกล่าวไว้ว่า เมื่อครั้งที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช ได้ทรงตัดพระเกศาแล้วโยนขึ้นไปบนอากาศ พระ
อินได้นำผอบมารับไปบรรจุไว้ในพระธาตุจุฬามณีเจดีย์เป็นที่สักการบูชาของ
เหล่าเทวดานางฟ้า
และมีความเชื่อกันว่าการบูชาจุฬามณีเจดีย์จะได้รับอานิสงส์ไปร่วมเกิดร่วม
พระศาสนากับพระศรีอาริย์
สำหรับความเชื่อเรื่องการขอคมาและระลึกถึงคุณพระแม่คงคา การไหลเรือไฟถอว่าเป็นการกระทำเพื่อระลึกถึงพระคุณของน้ำนั้นเอง ทั้งนี้ไม่ว่าประเพณีการไหลเรือไฟจะมีที่มาจากตำนานใดก็ตาม แต่การไหลเรือไฟก็เป็นการสร้างความสมัครสมานสามัคคีในหมู่คณะด้วยกันเองเพราะเมื่อถึงฤดูการทำเรือไฟ ทุกคนก็จะช่วยกันตกแต่งเรือไฟอย่างแข็งขันทุกปี
การทำเรือไฟสำหรับประกอบพิธีไหลเรือไฟ
มักจะประดิษฐ์ด้วยต้นกล้วย
หรือไม่ก็ใช้ไม้ไผ่ต่อกันเป็นเรือแพยาวประมาณ ๘-๑๐ วา
โดยสานไม้ไผ่เป็นโครง ส่วนรูปร่างนั้นขึ้นอยู่กับช่างที่จะเป็นผู้ออกแบบ ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นรูปองค์พระธาตุ
พนมเป็นหลัก ภาในเรื่อจะบรรจะด้วยขนม ข้าวต้มมัด กล้วย อ้อย หมาก พลู บุหรี่
และเครื่องไทยทานต่างๆ เป็นจำนวนมาก ส่วนด้านนอกของลำเรือก็มีดอกไม้ ธูปเทียน ตะเกียง
และใต้สำหรับจุดให้เกิดแสงสว่างไสวเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
แล้วปล่อยเรือไฟให้ลอยไปตามกระแสน้ำไหลของแม่น้ำโขง
แต่เรือไฟในปัจจุบัน มีความแตกต่างจากในอดีตมาก
ทั้งในด้านความใหญ่โตมโหฬาร
ความสวยงาม
มีการออกแบบให้เข้ากับเหตุการณ์มีการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วย
เช่นการใช้เรือจริงมาแทนต้นกล้วยที่ต่อเป็นแพ มีการใช้ตะเกียงน้ำมันและคบไฟน้ำมันยาง เป็นต้น
พิธีไหลเรือไฟ
พิธีที่ถือปฏิบัติกันมานั้น มีการประกอบกุศลด้วยการไปทำบุญ ตักบาตรในตอนเช้า พอถึงเวลาเพล
ก็จะมีการถวายภัตตาหารเพลแล้วก็มีการเลี้ยงข้าวปลาอาหารแก่ญาติโยม ที่มาในช่วงบ่าย
ระหว่างนี้ก็จะมีกาลเล่นพื้นบ้านต่างๆเพื่อความสนุกสนาน รวมทั้งมีการรำวงเป็นการฉลองเรือไฟ
จากนั้นพอประมาณพลบค่ำก็จะนิมนต์พระสงฆ์ให้มาทำพิธีสวดมนต์
และผู้ที่จะร่วมพิธีรับศิลและฟังเทศน์ต้องมีธูป เทียน
เพื่อประกอบพิธีกรรมในทางพระพุทธศาสนา
ส่วนดอกไม้นั้น
ได้ประดับติดตั้งบนเรือไฟ
ครั้นถึงเวลาประมาณ ๑๙ – ๒๐ นาฬิกา ก็จะทำพิธีจุดไฟในลำเรือแล้วปล่อยให้ลอยล่องไปตามลำแม่น้ำโขง เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
แหล่งที่มา : หนังสือประเพณีและการเล่นทางน้ำของไทย
เรียบเรียงโดย : ศิริพร แก้วก่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น