บุนบั้งไฟ หรือบุนเดือนหก
บั้งไฟ คือ กระบอกไม้ไผ่ที่ข้างในอัดแน่นด้วย “หมื่อ” (หมื่อประกอบด้วยดินประสิวคั่วผสมกับถ่านตำให้ละเอียดก่อนนำไปอัดแน่น) บั้งไฟที่ใช้จุดเดือนหกนี้มีสองชนิด คือ “บั้งไฟหาง” กับ “บั้งไฟก่องเข้า”
มูลเหตุที่ทำ
เพื่อเป็นเครื่องสักการบูชาพระยาแถน คนลาวและไทอีสานเชื่อว่า เป็นเทพเจ้าแห่งฝน ถ้าได้จุดบั้งไฟขึ้นไปบูชาเทพเจ้าองค์นี้แล้วจะบันดาลให้ฝนตกลงมา ตามฤดูกาลและมีปริมาณเพียงพอแก่การปลูกพืชพันธุ์
พิธีกรรม
ชาวบ้านได้ประชุมตกลงกำหนดนัดหมายวันจะทำบุญบั้งไฟ ช่างที่ทำบั้งไฟก็จะจัดเตรียมทำบั้งไฟหาง บั้งไฟก่องเข้าไว้ตามจำนวนและขนาดที่ชาวบ้านมีศรัทธาร่วมกัน บริจาคเงินซื้อ “ดินประสิว” เพื่อมาใช้ทำ “หมื่อ” ส่วนมากจะแบ่งเป็นคุ้มบ้าน เพื่อก่อให้เกิดความสนุกสนานและมีรสชาติยิ่งขึ้น ปัจจุบันมักจะมีการแข่งขันบั้งไฟระหว่างคุ้ม หรืบางคราวก็บอกกล่าวไปยังหมู่บ้านอื่นๆ ให้ทำมีการแข่งขันกัน ตามขนนาดที่กำหนด อาจเป็น “บั้งไฟหมื่น” (มีน้ำหนัก ๑๒ กิโลกรัม) หรือ “บั้งไฟแสน” (มีน้ำหนัก ๑๒๐ กิโลกรัม) พอถึง “วันโฮมบุน” หรือ “วันร่วม” ชาวบ้านจะจัดทำบุญเลี้ยงพระ และ “พิธีฮดสง” พระภิกษุผู้มีศีลและได้ศึกษาธรรมวินัยมาตลอดพรรษาที่ผ่านให้มีตำแหน่งสูงขึ้น คือ “ฮด” จากพระภิกษุธรรมดาให้เป็นภิกษุชั้น “อาจารย์” แต่เรียกสั้นๆ ว่า “จารย์” ฮดครั้งแรกเป็น “ซา” หรือ”จารย์ซา” ฮดครั้งที่สองเป็น “จารย์คู” หรือ “ญาคู” ผู้ชายที่มีอายุครบ ๒๐ (ขึ้นไป) ที่ประสงค์จะบวชพ่อแม่ก็จะจัดให้บวชในเดือนนี้ไปพร้อมๆ กัน จากนั้นจะนำ “กองหด” และ “กองบวช” มาตั้งไว้กลางศาลาโรงธรรม จากนั้นทางวัดจะตีกลองเป็นสัญญาณบอกให้ทุกๆ คุ้มนำบั้งไฟมารวมกันที่วัด ซึ้งแตล่ะคุ้มจะ ตกแต่งบั้งไฟของตนให้สวยงาม เมื่อทุกคุ้มนำบั้งไฟมารวมกันครบแล้ว ก็จะมีการจัดขนวนแห่บั้งไฟจะใช้เสลี่ยงหรือคานหามให้พระภิกษุผู้เป็นเจ้าอาวาส นำหน้าขบวนตามด้วยฟ้อน ขบวนเซิ้ง (รำเซิ้ง) ขบวนตลก (ส่วนมากเป็นการเล่นทอดแห หาปลา และหัวล้านชนกัน) ขณะที่แห่บั้งไฟนั้นก็จะมี “การเซิ้งบั้งไฟ” ไปพร้อมๆ กันด้วย นอกจากนี้ก็จะมีการเต้นการรำให้กับจังหวะเสียงกลองซึ่งทุกคนจะทะพร้อมๆกัน
คำเซิ้งบั้งไฟให้รักษาศีล ๕ (บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล ผู้แต่ง)
โอ้ฮาโอ ศรัทธาเฮโอ
สาวบ้านได๋ เอ้มาใหม่ใหม่
เอ้มาใส่ ผู้บ่าวบ้านเฮา
เหลียวเบิ่งเอา ผู้งานแท้ดอก
อ้ายอยกบอก ให้ฮักษาศีล
อย่าได้ขีน คำสอนพ่อแม่
ยามเฒ่าแก่ เข้าวัดฟังธรรม
ลักษณะของกาพย์เซิ้ง
กาพย์เซิ้ง เป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่งของ “ไทอีสาน” ที่ใช้จังหวะกระชับเร่งเร้าให้เกิดความคึกคะนองในการทำงานให้พร้อมเพรียงกัน นอกจากนี้กาพย์เซิ้งยังเป็นกาพย์ที่ใช้ปลุกใจให้ทุกคนที่ร่วมขบวนเกิดความฮึกหาญคึกคัก ที่จะต่อสู้กับอุปสรรคทั้งปวง
แหล่งที่มา หนังสือ ประเพณอีสาน เกร็ดโบราณคดีไทสาน โดย บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น