วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา




ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา


         

แห่เทียนเข้าพรรษาถือเป็นวัตรปฎิ บัติของสงค์ประการหนึ่งที่เมื่อถึงวสันตฤดู (ฤดูฝน) พระพุทธองค์ทรงมีพุทธบัญญัติให้ภิกษุสามเณรต้องอยู่จำพรรษาเพื่อจะได้อยู่ เป็นที่เป็นทางตั้งใจบำเพ็ญเพียรภาวนา ทำกิจของสงค์ให้เต็มที่  การ เข้าพรรษาจะเข้าหรือจำพรรษาครั้งละ 3 เดือน จะตกอยู่ราวกรกฎาคมเดือน 8 แล้วไปออกพรรษาราวตุลาคมเดือน 11 แต่หากพระภิกษุสามเณรรูปใดมีกิจจำเป็นไม่สามารถเข้าพรรษาในช่วงแรกได้ทัน พระพุทธองค์ก็ทรงผ่อนผันให้เข้าจำพรรษาในช่วงหลังได้ โดยแต่ละช่วงมีดังนี้  

 ระยะแรกเรียกว่า ปุริมพรรษาแปลว่า พรรษาต้นหรือพรรษาแรก เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11  

ระยะหลังเรียกว่า ปัจฉิมพรรษาแปลว่า พรรษาหลัง เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12

      แม้ปีใดที่มีอธิกมาส คือ ปีที่มีเดือน 8 สองหน ในปีนั้นให้ถือเอาวันแรม 1 ค่ำเดือน 8 หลัง เป็นวันเข้าพรรษา

      นี้คือลักษณะเด่นประการหนึ่งของพระพุทธศาสนาที่มีลักษณะผ่อนปรนอนุโลม ให้ความสะดวกแก่ผู้ปฏิบัติ หากใครสะดวกหรือพร้อมในช่วงใดก็ถือปฎิบัติในช่วงนั้นๆ ได้แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะให้ถือเอาช่วงแรกคือ ปุริมพรรษา

ความเป็นมาของการแห่เทียน

      การแห่เทียนกับการเข้าพรรษามีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร ทำไมจึงมีการแห่เทียนก่อนเข้าพรรษา การแห่เทียนมีมาตั้งแต่สมัยใด คำถามเหล่านี้ทำให้ข้าพเจ้าต้องศึกษาศาสนาพุทธในส่วนที่เกี่ยวกับการเข้า พรรษา ปรากฏว่าไม่มีส่วนใดได้กล่าวถึงการแห่เทียนเลย แต่ศาสนาได้กล่าวถึงการบูชาไว้ 2 ลักษณะ คือปฎิบัติบูชาเป็นการบูชาด้วยการประพฤติปฎิบัติตามคำสอน ถือว่าเป็นการบูชาที่สูงสุดประเสริฐสุดและอามิสบูชาเป็นการบูชาด้วยสิ่งของ มีดอกไม้ธูปเทียนเป็นต้นการบูชาลักษณะหลังนี้พระพุทธองค์ไม่ทรงสรรเสริญ เพราะไม่เป็นทางที่จะนำไปสู่ความเจริญ ความสูงสุด และทางสู่ความหลุดพ้น ดับทุกข์ได้ เพราะเป้าหมายสูงสุดของศาสนาพุทธคือความดับทุกข์และการหลุดพ้นจากพันธนาการ

   

การบูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียนมีมาตั้งแต่สมัยใด ใครเป็นคนบูชาเป็นคนแรกไม่มีหลักฐานแจ้งชัด แต่ก็พออนุมานได้ว่าได้เกิดมีตั้งแต่สมัยพุทธกาล เนื่องเพราะได้มีการตรัสถึงอามิสบูชาไว้ด้วย และในตำราอันเกี่ยวกับการเข้านมัสการพระพุทธเจ้าก็มักจะมีคน 2 ประเภท คือประเภทแรกเข้าไปกราบนมัสการด้วยจิตใจมีเพียงมือสิบนิ้วกราบเฉยๆ ขณะที่บางคนมีดอกไม้ไปกราบด้วย ต่อมาเมื่อสามารถนำธูปเทียนไปกราบด้วย

     ในตำราเกี่ยวกับประเพณีเข้าพรรษาก็ได้กล่าวว่า ก่อนที่พระพุทธองค์จะทรงจำพรรษาก็มีพุทธศาสนิกชนเข้าไปทำบุญ กราบไหว้บูชาด้วยบุคล 2 ประเภทดังกล่าวเพราะเชื่อกันว่าการไปทำบุญช่วงก่อนเข้าพรรษาและออกพรรษาจะทำ ให้ได้อานิสงส์มาก ยิ่งมีความเชื่อกันอีกว่าการบูชาด้วยธูปเทียน ซึ่งมีแสงสว่างอยู่ในตัวแล้วจะทำให้เกิดแสงสว่างได้บุญมากยิ่งขึ้น คนในการต่อมาจึงนิยมนำดอกไม้ธูปเทียนไปบูชาพระรัตนตรัยมากยิ่งขึ้นตามลำดับ กอปรกับความนิยมธูปเทียนที่มีอยู่เดิมของชาวจีนจึงทำให้เกิดการบูชาด้วยไฟมี ความนิยมมากยิ่งขึ้นตามลำดับ

ความเป็นของการหล่อเทียนเล่มใหญ่

      สมัยก่อนเมื่อจะไปทำบุญในวันก่อนเข้า พรรษา ตอนกลางคืนจะมีการบูชาด้วยเทียน และเทียนที่นำไปจะต้องให้ครบกับพระที่จำพรรษา สมมุติมีพระจำนวน 9 องค์ก็นำเทียนไปเก้าเล่ม คิดดูว่าเมื่อประชาชน 100 คน ก็จะต้องมีเทียนมากถึง 900 เล่ม ทำให้ดูว่ามีเทียนมากเกินไปอาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ จึงได้มีการคิดว่าน่าจะได้รวมเทียนทั้งหมดหลอมรวมเป็นเล่มเดียวกัน เป็นเทียนเล่มโตเพื่อสะดวกในการนำไปถวาย ดังนั้นการหล่อเทียนให้รวมเป็นเล่มใหญ่จึงมีมาตั้งแต่บัดนั้น

      การรวมเทียนจากเล่มเล็กเป็นเล่มใหญ่ถือว่าเป็นการรวมสามัคคีรวมกองบุญกัน หากใครไม่ได้รวมเทียนถือว่าไม่ได้ร่วมทำบุญไม่ได้ร่วมบูชา และไม่มีความสามัคคี นี่คือความเชื่อของชาวพุทธส่วนหนึ่งทำให้การหล่อเทียนจากเล่มเล็กเป็นเล่ม ใหญ่เป็นที่นิยมกันตามลำดับต่อมา

ประเพณีแห่เทียนที่อุบลราชธานี

   


   ความจริงประเพณีการแห่เทียนมีอยู่ทุกท้อง ถิ่นและทุกหมู่บ้านของภาคอีสาน แต่เป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงที่จังหวัดอุบลราชธานี ก็เพราะที่นั้นมีการจัดประกวดแข่งขันความสวยงามทั้งต้นเทียนและขบวนแห่และมี องค์กรส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเข้าไปส่งเสริมด้วย ทำให้การแห่เทียนที่จังหวัดอุบลราชธานีเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ทั้งๆที่ ที่จังหวัดร้อยเอ็ด นครราชสีมา ขอนแก่น เป็นต้น ก็ได้ทำกันมาคล้ายๆกัน เมื่อที่อุบลฯเป็นที่รู้จักจึงเป็นประหนึ่งว่าจังหวัดอุบลฯเป็นจุดเริ่มแรก

     หากศึกษาประวัติความเป็นมาของการแห่เทียนที่อุบลฯก็จะเห็นว่าชาวอุบลฯได้มี การแห่เทียนมาตั้งนานแล้วคือราวประมาณ พ.ศ.  2480 มีช่างคนหนึ่งชื่อ นายโพธิ์ ส่งศรี (ช่างตีทอง คนโท ขันน้ำ ) เป็นช่างที่มีความรู้ความสามารถในการทำลวดลาย ได้เป็นช่างหล่อ ปั้นและออกแบบทำลวดลายลงในลำเทียนใหญ่ ทำให้เทียนมีความสวยงามและนำไปถวายที่ วัดปัฎวนารามวรวิหารเป็นครั้งแรก ในการนำไปถวายนั้นต้องใช้คนจำนวนมากช่วยกันเคลื่อนย้ายและมีชาวบ้านแห่ตามไป ด้วยทั้งไปดูพิธีกรรมดูความสวยงามของเทียนและไปร่วมบูชาด้วย เมื่อมีคนจำนวนมากจึงมีผู้คิดทำให้ขบวนดูมีระเบียบด้วยการจัดแถวจัดขบวน ทำให้การเดินดูมีความสวยงามนั้นเองคือสาเหตุของการแห่เทียนของชาวอีสานในกาล ต่อมา

     ต่อจากนั้นคุ้มวัดต่างๆก็เริ่มจัดหล่อต้นเทียนใหญ่กันและนำไปถวายที่วัดคุ้ม ของตนและมีการจัดขบวนแห่ติดตามไปด้วย เมื่อแต่ล่ะคุ้มต่างจัดกันอย่างนั้นแล้ว ทางราชการเห็นความสามัคคีของแต่ละคุ้มดีจึงได้ประกาศให้มีการประกวดต้นเทียน และขบวนแห่กันในราวปี พ.ศ.  2483 โดยแต่ละคุ้มต้องแห่เทียนไปไว้ที่ศาลากลางก่อนเพื่อให้มีกรรมการตัดสิน แต่การประกวดครั้งแรกๆจะประกวดเฉพาะต้นเทียนเท่านั้น

       ครั้น พ.ศ. 2500 ทางราชการมีคำสั่งให้จัดงานฉลองกึ่งพุทธกาลทั่วประเทศด้วยการฟื้นฟูกิจกรรม ด้านศาสนาทุกประเภท ต้นเทียนพรรษาก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ถูกส่งเสริมให้มีการจัดและแข่งขันกันอย่าง เอิกเกริกแต่ยังไม่ประกวดขบวน พอตกปี พ.ศ. 2502 นับเป็นยุคเริ่มต้นของการประกวดอย่างจริงจังเพราะมีการตัดสินชนะมีการประกวด ขบวนและมีรางวัลให้ด้วย

       พอมาปี พ.ศ. 2520 ทางเทศบาลเมืองอุบลราชธานีซึ่งจัดกันเองมาตลอดก็ได้รับการสนับสนุนจากการ ท่องเที่ยวแห่งประเทศ (ททท.) อย่างจริงจังมีการประกวดอย่างยิ่งใหญ่คือประกวดทั้งต้นเทียน ขบวน และธิดาต้นเทียนด้วย ที่สำคัญคือมีรางวัลเป็นแสนมีถ้วยรางวัลจากบุคคลสำคัญด้วย และที่สำคัญไปกว่านั้นคือพระบาทสมเด็ดพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเทียนหลวงมาเป็นเทียนชัยนำขบวนแห่ในงานด้วย งานประเพณีแห่เทียนจึงยิ่งใหญ่มาตราบจนปัจจุบัน






แหล่งที่มา หนังสือตำนานงานบุญ ประเพณีอีสาน รวบรวมโดยสำลี รักสุทธิ

3 ความคิดเห็น: